
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเด็นสำคัญที่กิจการขายของออนไลน์ควรทราบ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีความเกี่ยวข้องกับกิจการขายของออนไลน์ ตั้งแต่การเริ่มต้นประกอบกิจการ ทั้งการเช่าหรือซื้อที่ดินเพื่อเก็บสินค้า การซื้อหรือค้นหาวัตถุดิบ สินค้า การจ้างพนักงาน ไปจนถึงการมีรายได้จากการ ขายของออนไลน์ ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาษีทั้งสิ้น นอกจากการที่ผู้ประกอบการต้องดูว่ามีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเองแล้ว ยังต้องต้องทำความเข้าใจกับการคำนวนภาษีและยื่นภาษีให้ถูกต้อง
บทความวันนี้ บริษัท ทำบัญชี M.F.N Accounting เราจะพาคุณมาเจาะลึกเรื่อง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ใครหักภาษี ณ ที่จ่ายได้บ้าง และหักได้ในกรณีใดบ้าง มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่ควรทราบก่อนทำกิจการ ขายของออนไลน์
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร ส่วนผู้ที่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ต้องมีสถานะเป็นนิติบุคคลเท่านั้น บุคคลธรรมดาไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ โดยผู้ที่ถูกหัก สามารถเป็นได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
การจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายกิจการขายของออนไลน์ประเภทต่าง ๆ
โดยทั่วไปกิจการขาย ของออนไลน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ดังนี้
1. ขายโดยตรงให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของตนเอง
กิจการ ขายของออนไลน์ ที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของตนเอง เช่น หน้าเว็บไซต์ส่วนตัว, Facebook, Line หรือ ช่องทางอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ เว็บท่า (Webport) เช่น Lazada, Shopee และ JD.COM เป็นต้น
ผู้ขายต้องชำระค่าบริการที่หน่วยงานซึ่งตนใช้บริการนั้นเองเนื่องจากผู้ให้บริการไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เช่น กรณี Facebook, Youtube และ Google เป็นต้น (ปัจจุบันบางประเทศได้ออกกฎหมายเฉพาะเพื่อให้เว็บเหล่านี้ต้องเสียภาษีเงินได้และต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากกิจการที่จ่ายจากประเทศผู้ใช้บริการแล้วนั้น) รวมทั้งต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าบริการนี้อีกส่วนหนึ่ง
2. ขายของออนไลน์ ผ่านเว็บท่า (Web Portal)
การขายของออนไลน์ ผ่านเว็บท่า (Web Portal) ที่เป็นเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเข้าถึงข้อมูลและบริการต่าง ๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์เอง รวมทั้งการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผ่านเว็บท่าที่พ่อค้าแมม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน เช่น Lazada, Shopee และ JD.COM เป็นต้น
การจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับกิจการที่ขายของออนไลน์ ผ่านเว็บท่านั้น ผู้ขายมีภาระที่ต้องจ่ายค่าบริการขายตามอัตราที่ได้ตกลงกับ Web Portal
3. การขายของออนไลน์ผ่านทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ของตนเองและเว็บท่า
การขายของออนไลน์ผ่านทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ของตนเองและเว็บท่า ผู้ขายมีภาระที่ต้องจ่ายค่าบริการขายตามอัตราที่ได้ตกลงกับ Webport ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ สำหรับค่าบริการข้างต้นและค่าส่งเสริมการขายตามที่ Web Portal เรียกเก็บ (ถ้ามี)
อัตราภาษี ณ ที่จ่าย ของค่าขนส่งสินค้า
ค่าขนส่งสินค้าที่ผู้ขายได้จ่ายเพื่อส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของค่าขนส่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีสัญญากับ Webport ซึ่งระบุไว้เป็นอย่างอื่น
แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า Webport จะเป็นผู้กำหนดค่าขนส่งเรียกเก็บจากผู้ซื้อนำส่งให้ผู้ขาย (โดยมีภาษีมูลค่าเพิ่มก็ตาม) แต่ผู้ขายคงเป็นผู้รับผิดชอบในค่าขนส่งที่เกิดขึ้นจริง ผลต่างของค่าขนส่งจากอัตราที่ Webport กำหนดนี้ผู้ขายจะเป็นผู้ต้องชำระเพิ่มในกรณีค่าขนส่งสูงกว่าอัตราที่ Webport กำหนด และรับเงินในกรณีที่ค่าขนส่งจริงต่ำกว่า อัตราที่ Webport กำหนด หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งกำหนดโดย Webport (เว็บมีอำนาจการควบคุมการขนส่ง) อาจทำให้สถานการณ์จ่ายเปลี่ยนไป (ดูเนื้อหาของสัญญานั้นประกอบ) การหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่พบ
บริการเสริมการส่งสินค้าถึงเป็นการให้บริการได้แก่การเรียบเก็บเงินปลายทาง (COD) ถือเป็นการให้บริการโดยผู้ส่งสินค้าในส่วนนี้การหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงหักตามลักษณะของบริการในอัตราร้อยละ 3 ของค่าบริการที่ผู้ขายจ่ายให้แก่ผู้รับขนส่ง เช่นเดียวกับบริการโลจิสติก
เรียบเรียงโดย นายคเณศ รังสิพราหมณกุล (กรรมการในคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการบัญชีภาษีอากร)