
ขายสินค้าออนไลน์ ใช้ที่อยู่ของคอนโดจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่
ปัจจุบัน เราสามารถซื้อขายสินค้าหรือให้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลา สื่อให้เห็นถึงการค้าในโลกไร้พรมแดน ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ บุคคลธรรมดาหากเลือกประกอบการค้า ขายสินค้าออนไลน์ หรือให้บริการออนไลน์ มักจะทราบและเข้าใจในกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มในเบื้องต้นอยู่ว่า หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ย่อมต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และการขายสินค้าออนไลน์ หรือให้บริการออนไลน์ในคอนโดมิเนียม หรืออาคาร ชุดที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสามารถจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ได้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถใช้ที่อยู่อาศัยในคอนโดดังกล่าว จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรได้หรือไม่ เมื่อค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต บ้างก็บอกว่าจด VAT ในคอนโดได้ บ้างก็บอกว่า VAT ไม่ได้ บทความนี้จะทำให้ทุกท่านคลายความสงสัย และมีคำตอบที่ชัดเจนในคำถามดังกล่าว
วางแผนภาษีมูลค่าเพิ่มกับการจดทะเบียนตามสถานประกอบการ
จากการศึกษากฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มพบว่า มาตรา 85 วางหลักไว้ว่า ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการให้มีสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ ถ้าผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน นับแต่วันที่ระบุในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สถานที่ ขายสินค้าออนไลน์ หรือให้บริการออนไลน์ที่อยู่อาศัยในคอนโดสามารถจด VAT ได้
ผู้ค้าออนไลน์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยหรือห้องพักในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เป็นสถานที่ในการประกอบกิจการขายสินค้าออนไลน์ หรือให้บริการออนไลน์ ผู้ค้าสามารถใช้อยู่ดังกล่าวจดทะเบียนบริษัท หรือ จดทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากรได้ โดยในส่วนของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากร สามารถแยกพิจารณาได้ 2 กรณี ดังนี้
กรณีสถานที่ ขายสินค้าออนไลน์ หรือ ให้บริการออนไลน์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของคอนโด
คอนโดไม่ได้มีให้พักอาศัยเท่านั้น แต่บางส่วนในคอนโด ยังใช้เป็นสถานประกอบกิจการเพื่อขายสินค้าหรือให้บริการได้ ซึ่งปกติร้านค้าเหล่านี้จะอยู่ในชั้นแยกต่างหากจากชั้นที่เป็นที่พักอาศัยและเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้ใช้พื้นที่ของคอนโดดังกล่าวเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ มีหน้าที่ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 01 หรือแบบ ภ.พ. 01.1 แล้วแต่กรณี โดยต้องแนบหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฉบับจริงที่ระบุว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ประกอบแบบดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากนิติบุคคลอาคารชุดก่อนจึงขอจด จด VAT ในคอนโดกับกรมสรรพากรได้
กรณีสถานที่ขายสินค้าหรือให้บริการตั้งอยู่ในที่พักอาศัยในคอนโด
ด้วยข้อจำกัดของกฎหมายผู้ค้าออนไลน์ที่ใช้พื้นที่ในคอนโดเป็นที่พักหรือที่อยู่อาศัยและประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการด้วยนั้นไม่สามารถจด จด VAT ในคอนโด กับกรมสรรพากรได้ เนื่องจากห้องพักในคอนโดมิใช่พื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ดังนั้น ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่สามารถออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ค้าออนไลน์ในกรณีดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าว รวมถึงแนวโน้มการประกอบการค้าในปัจจุบัน ลักษณะการขายสินค้าออนไลน์หรือให้บริการออนไลน์โดยใช้ที่อยู่อาศัยในคอนโดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมสรรพากรจึงได้ศึกษาและแก้ไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โดยสามารถสรุปหลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการใช้ที่อยู่อาศัยในคอนโดเพื่อขอจด VAT ได้ดังนี้
- ผู้ค้าออนไลน์ในคอนโดต้องยื่นคำขอจด VAT ผ่านเว็บไซต์ ได้วิธีเดียวเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ยื่นขอจด VAT ในรูปกระดาษ
- ผู้ค้าออนไลน์ในคอนโดต้องเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการโดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ใช้ห้องชุดเพื่อการอยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดเป็นสถานประกอบการเพียงแห่งเดียวและไม่มีสถานประกอบการแห่งอื่น
- มีใบทะเบียนพาณิชย์ซึ่งจดทะเบียนพาณิชย์ ประกอบพาณิชยกิจประเภทการซื้อ ซื้อขายหรือให้บริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
- อัพโหลดเอกสารพร้อมกับแบบขอจด VAT ได้แก่ ทะเบียนบ้านของที่ตั้งสถานประกอบการ แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเกต ภาพถ่ายสถานประกอบการ กรณีการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการต้องมีสัญญาเช่า หรือกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทนต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือกรณีใช้ที่อยู่อาศัยของตนเป็นสถานประกอบการ ต้องมีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น
- หน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ใช้ในการประกอบกิจการ
- กรณีขายสินค้าหรือให้บริการผ่านอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ต์ต้องมีเอกสารแสดงความยินยอมให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มดังกล่าว เปิดเผยข้อมูลการประกอบกิจการให้แก่กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการ ณ ที่อยู่อาศัยคอนโด
ด้วยจำนวนของผู้ค้า ขายสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น กรมสรรพากรจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบและแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการยื่นแบบเพื่อขอจด จด VAT ในคอนโด เชื่อมโยงข้อมูลกับกระทรวงพาณิชย์ ลดชั้นตอนเอกสารจดทะเบียนพาณิชย์ อีกทั้งผู้ประกอบการที่ใช้ห้องพักในคอนโดประกอบกิจการ ไม่ต้องมีหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดอีกด้วย ง่ายต่อการวางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา