
ประเด็นภาษียอดฮิต เมื่อกิจการต้องการ“ จดทะเบียนลดทุน ”
จดทะเบียนลดทุน หมายถึง.การที่บริษัทมีเงินทุนมากเกินไปไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์.หรือบริษัทประสบภาวะขาดทุนจนไม่สามารถลบล้างผลขาดทุนได้.จึงต้องลดจำนวนทุนจดทะเบียนลง เพื่อคืนทุนให้ผู้ถือหุ้นในกรณีที่มีทุนมากเกินไป หรือลดทุนเพื่อลบล้างผลขาดทุนสะสม ดังนั้น ก่อนผู้ลงทุนจะลงมติให้บริษัทจดทะเบียนลดทุน ควรพิจารณาประเด็นทางบัญชีและภาษีดังนี้ให้ดีก่อน
การ จดทะเบียนลดทุน โดยคำนึงถึงการจ่ายปันผลเพื่อการคืนทุน
เงินปันผลที่จ่ายเพื่อการคืนทุน เป็นเงินซึ่งกิจการจ่ายเงินให้กับผู้ถือหุ้นในกรณีที่ปิดกิจการ เลิกกิจการเปลี่ยนบางส่วน หรือที่เรียกว่าการลดทุน ดังนั้น เงินที่กิจการนำมาจ่ายปันผลเพื่อการคืนทุนจึงไม่ใช่ส่วนแบ่งกำไรที่จะบันทึกจ่ายจากกำไรสะสม แต่การจ่ายปันผลอาจจ่ายจากทั้งส่วนแบ่งกำไรและส่วนของเงินทุนของกิจการร่วมกันก็ได้ โดยกิจการควรกำหนดให้ชัดเจนถึงแหล่งที่มาในการจ่ายเงินปันผล
การวางระบบบัญชีเมื่อมีการจ่ายปันผลเพื่อการคืนทุน
ในส่วนของการจ่ายเงินปันผลเพื่อการคืนทุนหรือจ่ายจากบัญชีส่วนได้ที่เกี่ยวกับทุน บริษัทควรบันทึกบัญชีแยกไว้อีกบัญชีหนึ่ง คือ บัญชีเงินปันผลจากทุน นอกจากนี้ ในการดำเนินการเลิกกิจการ กิจการควรแสดงงบแสดงฐานะการเงินเป็นระยะๆเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นได้ทราบถึงการดำเนินการเลิกกิจการว่าได้ดำเนินการไปมากน้อยเพียงใดแล้ว ซึ่งในการแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงิน บัญชีเงินปันผลจ่ายเพื่อการคืนทุนจะแสดงหักจากกำไรสะสมทั้งหมด ส่วนที่เกินจากกำไรสะสมที่กิจการมีอยู่จะแสดงหักจากบัญชีทุน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินทราบจำนวนทุนเดิมและจำนวนที่ได้จ่ายเงินคืนทุนไปแล้ว
ภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการจ่ายเงินลดทุน
บริษัทผู้จ่ายเงินลดทุนคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่ง ดังนี้
ตัวอย่าง บริษัทจดทะเบียนลดทุน ครั้งที่ 1 จาก 2,000,000,000 บาท ลดลง 1,500,000,000 บาท คงเหลือ 500,000,000 บาท (พร้อมกับลดเงินสำรองตามกฎหมายจาก 200,000,000 บาท ลดลง 150,000,000 บาท คงเหลือ 50,000,000 บาท โดยบริษัทฯ ได้นำเงินสำรองที่ลดลงจำนวน 150,000,000 บาท ไปกันไว้เป็นกำไรสะสม) และโอนเงินลดทุนจำนวน 1,500,000,000 บาท ให้แก่บริษัทผู้ถือหุ้น โดยได้คำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินลดทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกินเงินสำรองที่กันไว้ซึ่งคิดเป็นจำนวน 200,000,000 บาท
บริษัทจดทะเบียนลดทุน ครั้งที่ 2 จาก 500,000,000 บาท ลดลง 375,000,000 บาท คงเหลือ 125,000,000 บาท และได้คืนเงินทุนจดทะเบียนที่ลดลงในครั้งนี้จำนวน 375,000,000 บาท ไปให้บริษัทผู้ถือหุ้น (บริษัทมีกำไรสะสมตามที่แสดงไว้ในงบการเงินรวม 179,516,260 บาท (ประกอบด้วยผลกำไรจากการประกอบกิจการ 29,516,260 บาท และเงินสำรองของบริษัทฯ ที่ได้ทำการลดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 จำนวน 150,000,000 บาท)
จากสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากเงินสำรองจำนวน 50,000,000 บาท และกำไรสะสมที่บริษัทฯ ยกมาจากการลดเงินสำรองจำนวน 150,000,000 บาท ได้เคยนำมาถือเป็นเงินได้พึงประเมินและถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคลมาแล้วในการ จดทะเบียนลดทุน ครั้งที่ 1 ดังนั้น เมื่อบริษัท จดทะเบียนลดทุนและคืนเงินลดทุน ครั้งที่ 2 จำนวน 375,000,000 บาท บริษัทฯ จึงไม่ต้องนำเงินสำรองที่ลดลงและเงินสำรองตามกฎหมายที่ได้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้และเสียภาษีไปแล้วในการ จดทะเบียนลดทุน ครั้งที่ 1 มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก และเงินลดทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกำไร และเงินที่กันไว้รวมกันที่จะถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ในการจดทะเบียนลดทุน ครั้งที่ 2 จึงมีจำนวนเท่ากับกำไรจากการประกอบกิจการจำนวน 29,516,260 บาท ซึ่งบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและนำส่งกรมสรรพากร
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่ได้รับจากการ จดทะเบียนลดทุน
กรณีบริษัทได้จดทะเบียนลดทุนและได้จ่ายเงินลดทุนคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะถือเป็น เงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร และเงินที่กันไว้รวมกันนั้น เงินลดทุนที่ผู้ถือหุ้นได้รับดังกล่าวจะต้องเป็นการคืนทุนซึ่งเป็นกำไรสะสมตามงบดุลของบริษัทที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ครั้งสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนการคืนเงินลดทุนหักด้วยเงินปันผลระหว่างกาล เฉพาะยอดที่บริษัทประกาศจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นก่อนการคืนเงินลดทุน หากเงินลดทุนไม่เกินจำนวนเงินดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินลดทุนคืนต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษี เงินได้ทั้งจำนวน
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อ สอบถาม บริษัท ทำบัญชี MFN Accounting เรามุ่งมั่นที่จะมอบบริการชั้นยอดให้กับลูกค้า บริษัทรับทำบัญชี ที่ ครบ จบ ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น วางแผนภาษี ปิดงบการเงินประจำปี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท และ ห้างหุ้นส่วน