
เมื่อจะ เปิดบริษัท ต้องทำอะไรบ้าง ?
มาดูกันว่า เรื่องสำคัญที่ต้องทำเมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว มีอะไรบ้าง
- เปิดบัญชีบริษัท
- จัดทำบัญชีบริษัท
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- การขึ้นทะเบียนประกันสังคม
- การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
1. เปิดบัญชีบริษัท
หลังจดทะเบียนบริษัท เจ้าของควรเปิดบัญชีธนาคารในชื่อบริษัทเพื่อใช้เป็นบัญชีหลักในการนำเงินเข้า-ออกจากบริษัท โดยไม่ควรใช้บัญชีส่วนตัวเนื่องจากจะทำให้ไม่เห็นผลประกอบการที่แท้จริง และหากมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาดูบัญชีก็อาจทำให้น่าเชื่อถือน้อยลง
2. จัดทำบัญชีบริษัท
- บริษัทต้องจัดให้มี “ผู้ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทโดยอาจเป็นพนักงานบัญชีของบริษัท หรือบริษัทอาจใช้บริการของสำนักงานบัญชีก็ได้
- จัดทำบัญชีตามที่กฏหมายกำหนด ตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือนนับตั้งแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
- จัดทำงบการเงิน โดยงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
กรณีที่บริษัทจ่ายเงิน : บริษัทต้องหักเงินจากจำนวนเงินที่จ่ายทุกครั้งเมื่อจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป โดยบริษัทต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) และต้องยื่นภาษีที่หักไว้ให้แก่กรมสรรพกร
กรณีที่บริษัทได้รับเงิน : บริษัทต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อได้รับเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป และต้องได้รับหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากผู้จ่ายเงิน
**โดยอัตราการหักภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทที่พบบ่อยมีดังนี้
4. การขึ้นทะเบียนประกันสังคม
เมื่อบริษัทมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป บริษัทต้องขึ้นทะเบียนลูกจ้างสำหรับจ่ายกองทุนประกันสังคมภายใน 30 วัน
5. จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
หากมองว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ช่วยลดต้นทุนของบริษัท ก็สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ทันที อย่างไรก็ตาม หากบริษัทมีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทต่อปี (รายได้ในที่นี้ คือยอดขายจริงๆ ไม่ใช่กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว) ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงเรื่องสำคัญบางส่วนที่ควรทำหลังจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้วเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องสำคัญอีกมากมายที่ผู้ประกอบการควรศึกษาเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องกับเกณฑ์และกฎหมายที่กำหนดอีกด้