จุดสำคัญในการขอ คืนภาษี M.F.N. มีคำตอบสำหรับการขอคืนเงินภาษี

จุดสำคัญในการขอ คืนภาษี M.F.N. มีคำตอบสำหรับการขอคืนเงินภาษี

การขอคืนภาษีไม่อยากอย่างที่คิด หากรู้เทคนิคและเข้าใจขั้นตอน ซึ่งจะมีจุดสำคัญในการขอคืนภาษีอย่างไร วันนี้ บริษัท ทำบัญชี M.F.N. ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชี ตรวจสอบบัญชี ภาษีอากร และที่ปรึกษาทางธุรกิจ  เรามีมีคำตอบสำหรับการขอ คืนภาษี

1. การตรวจสอบสถานะการ คืนเงินภาษี

ท่านสามารถตรวจสอบสถานะ “คืนภาษี” หรือสอบถามข้อมูลการขอคืน ได้ดังนี้

  1. เว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th > เลือกเมนู e-Refund สอบถามการคืนภาษี โดยเลือกปีภาษีที่ต้องการค้นหา กรอกชื่อ,สกุล เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขผู้เสียภาษีอากร​ (ระบบจะแสดงปีภาษีให้คัดค้นได้ย้อนหลัง 2 ปีภาษี)
  2. ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center : 1161)
  3. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในหน้าแบบแสดงรายการ

เงินบริจาค

2. ช่องทางส่งเอกสารประกอบการพิจารณา คืนภาษี

  1. ส่งด้วยตนเอง
  2. โทรสาร (FAX) ตามหมายเลขโทรสารที่ระบุใน “ใบนำส่งเอกสาร”
  3. ไปรษณีย์ โดยส่งตามที่อยู่ที่ระบุใน “ใบนำส่งเอกสาร”
  4. ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ระบบ EDSS ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th > เลือกเมนู e-Refund สอบถามการคืนภาษี > พิมพ์ชื่อผู้เสียภาษี-นามสกุล (ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ) และเลขประจำตัวประชาชน กดปุ่ม สอบถาม และ upload เอกสารที่เมนู “นำส่งเอกสารประกอบพิจารณาการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ไฟล์ที่อนุญาตให้ upload : JPG,PNG,BMP,TIF,PDF รวมขนาดของไฟล์ทั้งหมดไม่เกิน 20 MB ต่อครั้ง และสามารถนำส่งได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทั้งนี้ ระบบไม่รองรับไฟล์ PDF ที่มี Password หรือ Secured

  หมายเหตุ

  • การส่งเอกสารประกอบการขอคืนภาษีฯ ตามวิธีการในข้อ 1.- 3. ให้พิมพ์ใบนำส่งเอกสารส่งไปพร้อมกับเอกสารที่นำส่งด้วย เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาคืนภาษี (ให้ระบุจำนวนแผ่นของเอกสารที่นำส่ง พร้อมระบุหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ กรณีที่เอกสารไม่ชัดเจนเจ้าหน้าที่จะได้สามารถติดต่อกลับได้) และสามารถพิมพ์ใบนำส่งเอกสารได้ที่ เมนู e-Refund สอบถามการคืนภาษี
  • กรณียื่นแบบฯ กระดาษ สามารถตรวจสอบได้ภายหลังจากวันที่ยื่นแบบฯ แล้ว 1 วัน

เงินบริจาค

3. ช่องทางการ คืนภาษี

ท่านสามารถรับเงินภาษีคืนผ่าน “ช่องทางการคืนเงิน” ดังนี้

1. การคืนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

กรมสรรพากรจะทำการโอนเงินภาษีที่ได้อนุมัติคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคารและได้แจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารดังกล่าว

2. การ คืนภาษี ผ่านธนาคาร

การคืนเงินผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรณีผู้ขอคืนเงินภาษีไม่ประสงค์รับเงินภาษีคืนด้วยการโอนเงินภาษีคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) เป็นหลักฐานเพื่อนำไปติดต่อรับเงินคืนที่สาขาธนาคารธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดังนี้

สำหรับ กรณีผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีที่มีคำสั่งศาล และได้รับหนังสือแจ้งคืน ค.21 ผู้จัดการมรดก ยังคงสามารถมาขอรับเงินคืนได้ที่สาขาธนาคารกรุงไทย ในรูปแบบบัตรเงินสด e-Money ได้โดยแสดงคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้อง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดกมาขอรับเงินคืนที่สาขาธนาคาร

3. การคืนเงินสำหรับผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

กรณี ชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น

เงินบริจาค

4. ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 เพิ่มเติม ได้รับเงินคืนภาษี ลดลง/เพิ่มขึ้น

กรณีผู้ขอคืนเงินภาษียื่นแบบฯ มากกว่า 1 ฉบับ เนื่องจากได้ทำรายการยื่นแบบฯ เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงรายการ เป็นผลให้ได้รับเงินคืนภาษีลดลง/เพิ่มขึ้น เมื่อผู้ขอคืนเงินภาษีได้รับเช็คคืนเงินภาษีฉบับแรกจากกรมสรรพากรแล้ว ผู้ขอคืนเงินภาษีสามารถดำเนินการ ได้ดังนี้

    1. กรณีได้รับเช็คฉบับแรกเป็นจำนวนเงินมากกว่าการยื่นแบบฯ ฉบับเพิ่มเติม ให้ผู้ขอคืนเงินภาษีนำเช็คฯ ส่งคืนให้แก่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามหนังสือแจ้งคืนเงินฯ และกรมสรรพากรจะพิจารณาคืนเงินภาษี ตามแบบฯ ที่ถูกต้องให้ต่อไป
    2. กรณีได้รับเช็คฉบับแรกเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าการยื่นแบบฯ ฉบับเพิ่มเติม ผู้ขอคืนภาษีสามารถนำเช็คคืนเงินฉบับแรกเข้าบัญชีได้ทันที และกรมสรรพากรจะจัดส่งเช็คคืนเงินภาษีในส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขอคืนภาษีต่อไป

5. ไม่เห็นด้วย กรณีไม่ได้รับเงินคืนภาษี หรือได้รับเงินคืนภาษีน้อยกว่าที่ขอคืนภา

กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอคืนเงินภาษีแต่ไม่ได้รับเงินคืนภาษีที่ขอคืน หรือได้รับเงินคืนภาษีน้อยกว่าที่ขอคืน หากไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาคืนเงินภาษีดังกล่าว ให้ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ค.30 หรือ ค.21 แล้วแต่กรณียื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในหนังสือแจ้งฯ โดยจัดทำหนังสืออุทธรณ์ขึ้นเองและชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมแนบเอกสารประกอบ    

เงินบริจาค

6. ระยะเวลาในการได้รับเงิน คืนภาษี

กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษี ภายใน 3 เดือน กรณีมีเอกสารชัดเจนแสดงว่า ได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนภาษี หรือแบบ ค.10

1 thought on “จุดสำคัญในการขอ คืนภาษี M.F.N. มีคำตอบสำหรับการขอคืนเงินภาษี”

Leave a Comment