ประเด็นน่ารู้และควรระวังเมื่อมีการจ่าย “ ปันผล ”

ประเด็นน่ารู้และควรระวังเมื่อมีการจ่าย “ ปันผล ”

ประเด็นน่ารู้และควรระวังเมื่อมีการจ่าย “ปันผล” การจ่ายปันผล เงินปันผลมีทั้งรูปแบบที่จ่ายเป็นเงินสด และจ่ายเป็นหุ้น ซึ่งปกติแล้วบริษัทจะจ่ายให้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ กำไรสะสม และนโยบายการจ่ายปันผล ที่แตกต่างกันไปของแต่ละบริษัท อย่างไรนของกิจการนั้น ผู้ประกอบการเมื่อมีการปิดงบการเงินเรียบร้อยแล้ว จะทราบจำนวนกำไรสุทธิและกำไรสะสม และจะพิจารณาจัดสรรกำไรสะสมที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะก็ตามในส่วนเงินตามลำดับ

โดยลำดับแรกบริษัทจะจัดสรรกำไรสะสมบางส่วนไว้ในบัญชีสำรองประเภทต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ เช่น สำรองตามกฎหมาย สำรองเพื่อการขยายกิจการ เพื่อกิจการจะได้รับเงินสำรองดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์นั้นๆ ทั้งนี้กิจการไม่สามารถนำเงินสำรองดังกล่าวมาจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ และในลำดับถัดไปบริษัทจะจัดสรรปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งกิจการอาจพิจารณาจ่ายปันผลได้หลายรูปแบบ เช่น จ่ายเป็นเงิน ปันผล หรือหุ้นปันผล การจ่ายปันผลอาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างเงินทุนของกิจการขึ้นอยู่กับประเภทของการจ่ายปันผล

 จัดสรรกำไรสะสมบางส่วนไว้ในบัญชีสำรองประเภทต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์

กิจการอาจจัดสรรกำไรสะสมไว้ในบัญชีสำรองประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นเพียงวิธีการบัญชีเพื่อโอนกำไรสะสมไปไว้ในบัญชีสำรองเหล่านั้น เพื่อกิจการจะได้นำเงินสำรองดังกล่าวไปใช้ตามวัตถุประสงค์ การตั้งสำรองไม่มีผลทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือสินทรัพย์ของกิจการเปลี่ยนแปลง กิจการจัดแสดงบัญชีสำรองต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อกำไรสะสมที่จัดสรรแล้วในส่วนของผู้ถือหุ้น วัตถุประสงค์ในการตั้งสำรองต่าง ๆ มีดังนี้

สำรองตามข้อบังคับของกฎหมาย

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทต้องจัดสรรกำไรในรอบบัญชีไว้เป็นสำรองตามกฎหมาย ทุกครั้งก่อนที่จะจ่ายปันผล จนกว่าสำรองตามกฎหมายนี้จะครบตามจำนวนตามบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งเข้ากับหนึ่งในสิบของจำนวนทุนจดทะเบียนของบริษัท หรือตามข้อบังคับของบริษัทที่มากกว่า หากได้มีการกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท

สำรองตามข้อจำกัดในสัญญา 

กิจการอาจมีข้อตกลงกับผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ ที่จะต้องมีการกันกำไรสะสมไว้ในกิจการ เพื่อชำระหนี้ในอนาคต ซึ่งเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของบุคคลเหล่านี้และเพื่อให้ผู้เป็นเจ้าหนี้ของกิจการแน่ใจว่ากิจการจะสามารถชำระหนี้ได้ตามข้อตกลง

ปันผล

สำรองเพื่อใช้ในการดำเนินงานของกิจการ 

กิจการอาจมีนโยบายขยายกิจการในอนาคตโดยใช้เงินทุนภายในองค์กร ดังนั้นกิจการอาจจัดสรรกำไรสะสมที่มีอยู่ก่อนจ่ายปันผลไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการหรือจัดสรรไว้เพื่อขยายกิจการ

 การพิจารณานำกำไรสะสมมาจัดสรร ปันผล คืนให้กับผู้ถือหุ้น

หลังจากที่กิจการกันเงินสำรองต่าง ๆ แล้วกิจการจึงสามารถจ่ายปันผลคืนแก่ผู้ถือหุ้น การจ่ายปันผลถือเป็นการตอบแทนผู้ถือหุ้นที่นำเงินสดหรือสินทรัพย์มาลงทุนในกิจการ ทั้งนี้กิจการสามารถจ่ายปันผลได้หลายรูปแบบ เช่น เงินสดปันผล หุ้นปันผล

ปันผล

ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาการจ่าย “ปันผล”

  • ยอดคงเหลือของบัญชีกำไรสะสมและสภาพคล่องของกิจการ ในการจ่ายเงินปันผล กิจการควรคำนึงถึงเงินสดและสภาพคล่องของกิจการก่อนที่จะจ่ายเงินปันผลด้วย ว่าหากจ่ายเงินปันผลแล้วกิจการยังคงมีสภาพคล่องในการดำเนินงานหรือไม่ อีกทั้ง ต้องมีการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้รอบคอบอีกด้วย

ปันผล

  • ข้อจำกัดในการจ่ายปันผลที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ สัญญาเงินกู้บางฉบับอาจมีเงื่อนไขให้จ่ายเงินปันผลในบางกรณีจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้ เช่น สัญญาเงินกู้อาจระบุว่า กิจการสามารถจ่ายปันผลได้แต่ต้องไม่ทำให้อัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียนของกิจการต่ำกว่าอัตราที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

วันสำคัญเกี่ยวกับการจ่ายเงิน ปันผล

ปันผล

  • วันประกาศจ่ายปันผล เป็นวันที่กิจการประกาศจ่ายปันผลหลังจากที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งทำให้กิจการหนี้สินเกิดขึ้น คือบัญชีเงินปันผลค้างจ่าย
  • วันที่ผู้ถือหุ้นมีรายชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทจะกำหนดว่าปันผลที่ประกาศจ่ายนี้จะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันใด ซึ่งกิจการไม่ต้องบันทึกบัญชีไปอย่างใด
  • วันปิดรับโอนหุ้น เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทรวบรวมชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับปันผลตามรายชื่อที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นภายในวันที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด
  • วันจ่ายปันผล ในการประกาศจ่ายปันผล คณะกรรมการบริษัทจะกำหนดวันที่จะจ่ายปันผลด้วย ผู้ถือหุ้นประมาณสองถึงสี่สัปดาห์ ซึ่งในวันนี้กิจการจะบันทึกบัญชีตัดรายการหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกาศจ่ายปันผล ณ วันที่ประกาศจ่าย

ประเภทของการจ่าย ปันผล

  • การจ่ายปันผลตามปกติ กิจการจะพิจารณาจ่ายปันผลจากกำไรของกิจการ ดังนั้น กิจการจึงต้องสรุปผลการดำเนินงานประจำปีให้เรียบร้อยเสียก่อน การประกาศจ่ายปันผลตามปกติจึงเกิดขึ้นหลังรอบระยะเวลารายงาน เช่น กิจการที่มีรอบระยะเวลารายงานสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม จะมีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติจ่ายปันผลประมาณเดือนเมษายน ดังนั้น งบการเงินประจำปีจะยังไม่มีหนี้สินจากเงินปันผลค้างจ่าย กิจการจะมีหนี้สินจากปันผลค้างจ่ายก็ต่อเมื่อมีการประกาศจ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ได้รับอนุมัติให้ จัดสรรกำไรจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ในแต่ละปีกิจการอาจจ่ายปันผลในจำนวนที่แตกต่างกันโดยอาจปรับจำนวนปันผลเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามผลการดำเนินงานของกิจการ
  • การจ่ายปันผลระหว่างกาล ในระหว่างรอบระยะเวลารายงาน หากคณะกรรมการบริษัทมั่นใจว่ากิจการจะจ่ายปันผลประจำปีได้ และข้อบังคับของบริษัทให้อำนาจคณะกรรมการไว้ คณะกรรมการสามารถสั่งจ่ายเงินปันผลระหว่างปีก่อนได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ หรือที่เรียกว่าการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล กิจกรรมจัดแสดงรายการเงินปันผลระหว่างกาลเป็นรายการคัดออกจากกำไรสะสมในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเนื่องจากเป็นการจัดสรรกำไรสะสม
  • การจ่ายปันผลพิเศษ ในการจ่ายปันผลกิจการอาจกำหนดอัตราปันผลไว้คงที่อัตราหนึ่งโดยอาจจ่ายเป็น งวด เช่น งวด 3 เดือน งวด 6 เดือน หรือประจำปี ซึ่งกิจการที่กำหนดนโยบายเช่นนี้มักเป็นกิจการที่มีฐานะการเงินมั่นคง
  • การจ่ายปันผลเพื่อคืนทุน เงินปันผลที่จ่ายเพื่อการคืนทุนเป็นเงินที่กิจการจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้นในกรณีที่กิจการต้องการจะเลิกกิจการเพียงบางส่วน (ลดทุน) หรือเลิกกิจการทั้งหมด ดังนั้น เงินที่กิจการนำมาจ่ายปันผลเพื่อการคืนทุนจึงไม่ใช่ส่วนแบ่งกำไรที่จะบันทึกจ่ายจากกำไรสะสม แต่การจ่ายปันผลอาจจ่ายจากถังส่วนแบ่งกำไรหรือส่วนของเงินทุนของกิจการร่วมกันก็ได้ โดยกิจการควรกำหนดให้ชัดเจนถึงแหล่งที่มาในการจ่าย ปันผล

สรุปการพิจารณาจัดสรรกำไรสะสม

เมื่อกิจการนั้น ๆ มีการปิดงบการเงินเรียบร้อยแล้ว จะทราบจำนวนกำไรสุทธิและกำไรสะสม และจะพิจารณาจัดสรรกำไรสะสมที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะก็ตามในส่วารเงินตามลำดับ คือ กิจการจะจัดสรรกำไรสะสมบางส่วนไว้ในบัญชีสำรองประเภทต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ เช่น สำรองตามกฎหมาย สำรองเพื่อการขยายกิจการ สำรองเพื่อใช้ในการดำเนินงานของกิจการ และในลำดับถัดไปบริษัทจะจัดสรรปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งกิจการอาจพิจารณาจ่ายปันผล ซึ่งการจ่ายเงินปันผลนั้นก็มีได้หลายปัจจัย เช่น ยอดคงเหลือของบัญชีกำไรสะสมและสภาพคล่องของกิจการ และ ข้อจำกัดในการจ่ายปันผลที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ โดยการจ่ายเงินปันผลก้จะมีวันสำคัญเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล คือ วันประกาศจ่ายปันผล วันที่ผู้ถือหุ้นมีรายชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้น วันปิดรับโอนหุ้น และ วันจ่ายปันผล หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อ สอบถาม บริษัท ทำบัญชี MFN Accounting เรามุ่งมั่นที่จะมอบบริการชั้นยอดให้กับลูกค้า บริษัทรับทำบัญชี ที่ ครบ จบ ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น วางแผนภาษี ปิดงบการเงินประจำปี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท และ ห้างหุ้นส่วน

Leave a Comment