ประเด็นภาษียอดฮิต “สินค้าหาย ควรดำเนินการทางบัญชีและภาษีอย่างไร”

ประเด็นภาษียอดฮิต “สินค้าหาย ควรดำเนินการทางบัญชีและภาษีอย่างไร”

..กิจการที่ขายสินค้าหรือกิจการอุตสาหกรรมที่มีทั้งวัตถุติบ วัสดุสิ้นเปลืองในการผลิต วัตถุดิบสำเร็จรูป โดยปกติแล้วจะมีการตรวจนับสต็อกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อตรวจสอบความมีอยู่จริงระหว่างสินค้าของจริงกับสินค้าที่ปรากฎอยู่ในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และหากพบว่าพบว่า สินค้าหาย เป็นสิ่งหนึ่งที่ถูกมองข้ามกันบ่อย ๆ ทั้งที่มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างมากโดยปัญหาบางข้อนั้นมีผลต่อกำไรขาดทุนมากพอสมควร ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ทั้งในทางในทางบัญชีและในทางภาษีอากร ซึ่งบทความในวันนี้ บริษัท ทำบัญชี M.F.N.Accounting จะอธิบายขั้นตอนการดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน

เมื่อกิจการตรวจสอบพบว่า สินค้าหายจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบก็ควรจะมีการตรวจสอบยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าสินค้าหายจริงหรือไม่ (ควรมีระเบียบกำหนดวิธีการตรวจนับ) หากพบว่าสินค้าหาย สามารถดำเนินการในทางบัญชี และ ในทางภาษีอากร ซึ่งการดำเนินการในแต่ละแบบก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

การดำเนินการในทางบัญชี หากตรวจสอบพบว่า สินค้าหาย

เมื่อกิจการที่อุสาหกรรมได้ตรวจสอบและนับสต็อกสินค้าแล้วพบว่า สินค้าหายจากรายงานสินค้าหรือวัตถุดิบ ผู้ตรวจสอบหรือผู้ดูสต็อกสินค้าก็ควรขออนุมัติผู้มีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องตรงกัน 

การดำเนินการในทางภาษีอากร หากตรวจสอบพบว่าสินค้าหาย

กิจการหรืออุตสาหกรรมใด มีการตรวจสอบสินค้าและนับสต๊อกอยู่เป็นประจำและได้พบว่ามีจำนวนสินค้าหายไปหรือวัตถุไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในรายงาน จะมีวิธีการแก้ไขในทางภาษีอากรที่แตกต่างกับทางบัญชี คือ

สินค้าหาย จะถือเป็นการขาย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) ด้วยราคาตลาด

เมื่อมีการตรวจนับสต็อกแล้วพบว่าสินค้าหายจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบซึ่งกิจการไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้าหายไปไหนจะถือเป็นการขายตามประมวรัษฎากรมาตรา 77/1 (8) (จ) และเนื่องจากกิจการไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไหน จึงต้องเสียภาษีขายด้วยราคาตลาด ซึ่งกิจการจะต้องนำส่งภาษีขายยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายใน 15 วันนับจากที่กิจการตรวจพบว่าสินค้าหายจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าตามมาตรา 89 (10)

เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าตามมาตรา 89 (10) อย่างไรก็ดี กิจการสามารถทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับนั้น เว้นแต่กรณีอธิบดีกรมสรรพากรพิจรณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ปรับโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้ การยื่นคำร้องให้ยื่นคำร้องก่อนเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมิน ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้วให้ยื่นอุธรณ์ต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป

ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้อง

หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้าหายไปไหน จะถือเป็นรายได้ ต้องนำไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

เมื่อกิจการตรวจพบว่าสินค้าหายจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สินค้าหายไปไหน ดังนั้น กิจการจะต้องนำมูลค่าราคาตลาดของสินค้าที่ขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบไปถือเป็นรายได้คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากกิจการไม่ได้ขายสินค้านั้นจริง

2 thoughts on “ประเด็นภาษียอดฮิต “สินค้าหาย ควรดำเนินการทางบัญชีและภาษีอย่างไร””

Leave a Comment